ทางเลือกที่ไม่ต้องผ่าตัด แก้ไขปัญหาข้อเข่าเสื่อม


โรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ พบมากในวัยกลางคน และผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมาก ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม โรคจะดำเนินไปเรื่อยๆ อาจท้าให้มีความเจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ การปฏิบัติกิจวัตรประจ้าวันต่างๆ ก็ทำได้ไม่สะดวก จะมีความทุกข์ทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ



โรคข้อเข่าเสื่อม หมายถึง โรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมและอาจมีความเสื่อมรุนแรงขึ้นตามลำดับ


ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของข้อเสื่อม
  • กระดูกอ่อนผิวข้อนุ่มกว่าปกติ
  • สีเปลี่ยนจากใสเป็นสีเหลือง
  • มีการแตกของผิวข้อ
  • กระดูกผิวข้อเริ่มบางลง
  • ผิวไม่เรียบ ขรุขระและลุ่ยออก
  • มีกระดูกงอกบริเวณขอบกระดูก
  • กระดูกใต้ผิวข้อหนาและแข็งขึ้น มีถุงน้้าเกิดขึ้นในกระดูก
  • พิสัยการเคลื่อนไหวลดลง

โครงสร้างของข้อเข่า

ข้อเข่าประกอบด้วย กระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง และกระดูกสะบ้า ยึดติดกัน ด้วยเส้นเอ็นซึ่งเป็นส่วนปลายของ กล้ามเนื้อนับว่าเป็นส่วนสำคัญที่ ท้าให้ข้อเข่าแข็งแรง ผิวสัมผัส ของกระดูกทั้งสามจะมีเยื่อบุข้อ เซลล์ประสาทรับความรู้สึก และมี กระดูกอ่อนค่อนข้างหนาคลุมอยู่ กระดูกอ่อนนี้มีลักษณะเรียบ มันวาว และผิวลื่น ทั้งนี้เพื่อรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้น ขณะมีการเคลื่อนไหวข้อ และท้าให้รูปร่างกระดูกพอดีกัน ช่วยให้ข้อมั่นคงภายใน ข้อเข่ามีน้ำหล่อเลี้ยงช่วยในการหล่อลื่นและถ่ายน้ำหนัก

สาเหตุความเสื่อมของข้อเข่า


  1. ความเสื่อมแบบปฐมภูมิ หรือไม่ทราบสาเหตุ เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย ซึ่งมีปัจจัยของการเสื่อมของข้อเข่าได้แก่
    • อายุ พบว่า อายุ 40 ปี เริ่มมีข้อเสื่อม อายุ 60 ปี เป็นข้อเข่าเสื่อมได้ถึงร้อยละ 40
    • เพศ ผู้หญิงพบมากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อของร่างกาย
    • น้ำหนักตัวที่เกิน น้ำหนักตัวมีความสัมพันธ์อย่างมากกับเข่าเสื่อม พบว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัม จะเพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่า 1-1.5 กิโลกรัม ขณะเดียวกันเซลล์ไขมันที่มากเกินไปจะมีผลต่อเซลล์กระดูกอ่อนและเซลล์กระดูก ส่งผลให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น
    • การใช้งาน ท่าทาง กิจกรรมที่มีแรงกดต่อข้อเข่ามาก เช่น การนั่งคุกเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ ขึ้นลงบันไดบ่อยๆ เป็นต้น
    • ความบกพร่องของส่วนประกอบของข้อ เช่น ข้อเข่าหลวมกล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง
    • กรรมพันธุ์ โรคข้อเข่าเสื่อมมีหลักฐานการถ่ายทอดทางพันธุกรรมน้อยกว่าที่ข้อนิ้วมือเสื่อม
    • กระดูกใต้ผิวข้อหนา และแข็งขึ้น มีถุงน้้าเกิดขึ้นในกระดูก
    • พิสัยการเคลื่อนไหวลดลง
  2. ความเสื่อมแบบทุติยภูมิ เป็นความเสื่อมที่ทราบสาเหตุ เช่น เคยประสบอุบัติเหตุมีการบาดเจ็บที่ข้อ เส้นเอ็น การบาดเจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่าจากการทำงานหรือการเล่นกีฬา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าท์ ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น อ้วน เป็นต้น
อาการแสดงของโรคข้อเข่าเสื่อม

  ข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ มักพบบ่อยในผู้ที่อายุเกิน 60 ปี พบ มากในผู้หญิงและผู้ที่มีน้้าหนักตัวมาก มักเป็นทั้ง 2 ข้าง พบว่า เมื่อข้อเข่าข้างหนึ่งเริ่มเสื่อมแล้ว จะมีข้อเข่าอีกข้างเสื่อมเวลาต่อมา

อาการในระยะแรก เริ่มปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้นลงบันได หรือนั่งพับเข่า อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อ ร่วมกับมีอาการข้อฝืดขัดโดยเฉพาะเมื่อหยุดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เมื่อขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ เมื่อมีภาวะข้อเสื่อมรุนแรงอาการปวดจะรุนแรงมากขึ้น บางครั้งปวดเวลากลางคืน อาจคลำส่วนกระดูกงอกได้บริเวณด้านข้างข้อ เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาเต็มที่ จะมีอาการปวดหรือเสียวบริเวณกระดูกสะบ้า หากมีการอักเสบจะมีข้อบวม ร้อน และตรวจพบน้้าในช่องข้อ ถ้ามีข้อเสื่อมมานานจะพบว่า เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวม หรือบิดเบี้ยวผิดรูป ทำให้ เดินและใช้ชีวิตประจ้าวันลำบาก และมีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับ


แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม


  1. การรักษาโดยการใช้ยา

      หากการรักษาทั่วไปไม่สามารถลดอาการปวดจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา ซึ่งมียาหลายชนิดให้เลือกดังนี้

    • ยาแก้ปวด เป็นยาลดอาการปวดแต่ไม่ได้แก้อาการอักเสบ พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีก เช่นยา paracetamol
    • ยาแก้อักเสบ steroid สมัยก่อนนิยมใช้กันมากทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดเข้าข้อ แต่ปัจจุบันความนิยมลดลงเนื่องจากผลข้างเคียง โดยเฉพาะยาที่ฉีดเข้าข้อจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น
    • ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากขึ้น แต่ต้องระวังการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน
    • ยาบำรุงกระดูกอ่อน ได้ผลช้าและใช้ค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่เป็นที่นิยม
    • การใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม เนื่องจากโรคข้อเสื่อมจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อน้อยทำให้มีการเสียดสีของข้อ จึงได้ มีการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปในเข่า 3-5 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ซึ่งจะทำให้ลดการเสียดสีของข้อ ลดอาการปวด แต่การฉีดนี้ใช้ได้เฉพาะข้อที่เสื่อมไม่มาก ค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ได้ผลชั่วคราว

  2. การผ่าตัด

      เป็นอีกวิธีในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งได้รับความนิยม แต่ก็มีข้อจำกัดในหลายด้าน วิธีการผ่าตัดมีได้หลายวิธีดังนี้

    • การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (arthroscope) เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก แพทย์จะเข้าไปเอาสิ่งสกปรก ที่เกิดจาก การสึก ออกมา
    • การผ่าตัดแก้ความโกงงอของเข่า เป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแนวแรงที่ลงข้อเข่าให้ดีขึ้น ข้อเข่ากระดูกอ่อนจะต้องอยู่ในสภาพที่ดีพอสมควร จึงจะใช้วิธีนี้ได้
    • การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม คือการใส่ข้อเข่าเทียมเข้าแทนข้อที่เสื่อม

       การผ่าตัดอาจมีข้อจำกัดในเรื่องของอายุและสุขภาพของคนไข้ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยความจำเป็นและความเหมาะสมในการผ่าตัดกับการประเมินความเสี่ยง

  3. การรักษาแบบผสมผสานโดยใช้เทคโนโลยีด้านเซลล์บำบัด (Cell Therapy)

      การรักษาโดยการใช้ยา สารเคมี หรือการทำกายภาพบำบัด มิได้เป็นการแก้ไขที่สาเหตุของโรค เพราะเป็นเพียงแค่การกดอาการของโรคเพื่อไม่ให้แสดงออกมา ทั้งยังอาจทำให้เกิดปัญหาโรคเรื้อรัง ที่ต้องใช้การรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
      การรักษาด้วยเซลล์บำบัด (Cell Therapy) ซึ่งเป็นการใช้เซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ ผสมผสานกับสารปัจจัยการเจริญเติบโต (Growth Factors) และพลาเซนต้า ในการซ่อมแซมเซลล์กระดูกและข้อต่อที่เสื่อมสภาพ โดยการกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนส่วนที่สึกหรอ ซึ่งเป็นการรักษาที่ต้นเหตุที่นอกจากจะช่วยฟื้นฟูร่างกาย และช่วยฟื้นฟูกระดูกที่เกิดจากความเสื่อมแล้ว ยังช่วยฟื้นฟูอวัยวะทุกส่วนที่เกี่ยวข้องไปพร้อมๆ กันอีกด้วย
      ดังนั้นโดยทฤษฎีแล้ว การรักษาด้วยเซลล์บำบัด คือ การรักษาสุขภาพแบบองค์รวมที่จะคืนสุขภาพที่ดีทั้งระบบให้แก่ร่างกาย รวมทั้งเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้โดยที่มีผลแทรกซ้อนน้อยหรือไม่มีเลย

Stem Cell คืออะไร


Stem Cell หรือเซลล์ต้นกำเนิด เป็น เซลล์ที่ยังไม่เปลี่ยนเเปลงรูปร่างอย่างถาวร มีคุณสมบัติที่จะเเปรเปลี่ยนเป็น เซลล์ได้หลากหลายเเทบทุกชนิดในร่างกายซึ่งรวมไปถึงเปลี่ยนเป็น เซลล์กระดูกอ่อนที่บริเวณเข่าได้ ซึ่งเสต็มเซลล์นั้นมีด้วยกันหลายชนิด โดยชนิดที่มีการวิจัยนำมาใช้ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมอย่างได้ผลคือเซลล์ต้นกำเนิดชนิดมีเซนไคม์ Osteoarthritis (MSCs)




เซลล์ต้นกำเนิดชนิดมีเซนไคม์ (MSCs) เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่ทำหน้าที่ทดแทนเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุ เช่น ทดแทนเซลล์กระดูก, เซลล์กล้ามเนื้อ เป็นต้น หน้าที่ของเซลล์ต้นกำเนิดชนิดนี้ที่สำคัญ คือ

  1. ช่วยในการซ่อมแซมและฟื้นฟูสภาพของเซลล์ของอวัยวะนั้น ๆ ทำให้ อวัยวะนั้นสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  2. สามารถสร้างสารชีวภาพได้หลาย ๆ ชนิดที่มีฤทธิ์ช่วยในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์และช่วยลดการอักเสบ

การวิจัยทางคลีนิค

  การวิจัยทางคลีนิค ที่ Krembil Research Institute, University Health Network in Toronto, Canada นำคนไข้ 12 คนที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมในระยะปานกลาง มาทำการฉีดเสต็มเซลล์ชนิด mesenchymal stromal cells (MSCs) เข้าข้อเข่า แล้วติดตามผลในระยะเวลา 1 ปี

  ซึ่งในการทดลองทางคลินิค พบว่าผลลัพธ์ หลังฉีด stemcell ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยดูจากหลายทาง อาทิเช่น อาการปวด จากผลการทำ MRI ข้อเข่า เเละสารเคมีที่บ่งบอกถึงการอักเสบในเข่าต่างๆ ซึ่งผลลัพธ์ทั้งหมดเป็นในทางที่ดีขึ้น มีการอักเสบลดลง เเละยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนเเรงอื่นๆ

  เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่าคนไข้นั้นมีอาการเจ็บปวดลดน้อยลง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   ซึ่งทีมผู้วิจัยเชื่อว่า สาเหตุที่ทำให้อาการเจ็บปวดของผู้ป่วยลดลง เนื่องมาจากการอักเสบของข้อเข่าที่ลดลงหลังจากฉีด Stemcell

  หลังจากนั้น ก็มีใจทางคลินิกอีกหลายครั้งในเรื่องของการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมเช่นการวิจัยในปี 2015 ในผู้ป่วย 30 ราย การวิจัยในปี 2016 ในผู้ป่วย 60 ราย ซึ่งผลการวิจัยทางคลินิกเรานี้ก็ให้ผลไปในทางเดียวกัน

"This clinical pilot study advances the field of stem cell research for patients with arthritis, showing satety and giving insights into potential therapy efficacy guidelines. We look forward to larger scale trial results."

- Dr. Anthony Atala, Editor in Chief of STEM CELLS Translational Medicine

ข้อดีของการรักษาโรคข้อกระดูกด้วยการใช้เซลล์บำบัด


  1. ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องรับความเสี่ยงและความเจ็บปวดจากการผ่าตัด
  2. สะดวก รวดเร็ว ใช้เวลาในการรักษาน้อย
  3. ใช้เวลาพักฟื้นน้อย เพียงประมาณ 1-2 วัน
  4. ผลการรักษายั่งยืนกว่า เนื่องจากเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ
  5. ลดอาการเจ็บปวดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้คนไข้ไม่ต้องใช้ยาอีก ช่วยสร้างผิวข้อเข่าขึ้นใหม่ จึงให้ผลดีในระยะยาว
  6. ค่าใช้จ่ายเป็นครั้งอาจดูสูง แต่โดยรวมแล้วในระยะยาวต่ำกว่าการรักษาโดยทั่วไป
  7. ไม่ต้องใช้ยา เช่นยาแก้ปวดซึ่งมีผลข้างเคียง
  8. โอกาสในการเป็นซ้ำช้ากว่า หรือน้อยหากมีการดูแลและออกกำลังกายที่เหมาะสม
  9. ผลข้างเคียงน้อย หรือไม่มีเลย
  10. สามารถรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น เริ่มมีอาการ จนถึงระยะท้ายๆ เพื่อลดอาการเจ็บปวดและประคับประคองผู้ป่วย

ปัญหาเรื่องกระดูกและข้อที่สามารถดูแลได้ด้วยการใช้เซลล์บำบัด


  • โรคข้อเสื่อม (Osteoarthtritis) เช่น ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม
  • โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel syndrome)
  • อาการบาดเจ็บเรื้อรังที่กระดูกและข้อจากอุบัติเหตุ เช่น Tennis Elbow, ข้อเท้าแพลง
  • ข้ออักเสบอื่นๆ เช่น รูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)

โปรโมชั่นพิเศษ



โปรแกรมการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยเซลล์บำบัด แบบผสมผสาน

กรุณานัดหมายเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการรักษา