ท้องผูก อีกหนึ่งสัญญานของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

  ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือการที่มีปัสสาวะเล็ด ลอดออกมาในขณะที่กระเพาะปัสสาวะได้รับแรงดันต่างๆ เช่นการไอ จาม โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดอาทิเช่น การตั้งครรภ์, วัยทอง และการคลอดลูกโดยธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้วภาวะปัสสาวะเล็ดไม่ใช่โรคแต่อย่างใด แต่จัดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากกลุ่มโรค underlying disease เช่น เบาหวาน, การติดเชื้อ และภาวะอื่นๆ เป็นต้น

สาเหตุของภาวะปัสสาวะเล็ดแบบชั่วคราว อาทิเช่น
  • ท้องผูก
  • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infections)
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลส์และคาเฟอีนในปริมาณสูง
  • การดื่มน้ำอัดลม
  • การได้รับวิตามินบี และซีในโดสที่สูง
  • การทานยากล่อมประสาท, ยาคลายกล้ามเนื้อ, ยาลดความดัน เป็นต้น
  • การทานอาหารรสจัด เปรี้ยว หวาน เผ็ดจัด

อย่างไรก็ตามภาวะปัสสาวะเล็ดเรื้อรังจะเกิดจากสาเหตุที่นอกเหนือจาก แบบชั่วคราว อาทิเช่น
  • อายุที่มากขึ้น โดยการเกิดปัสสาวะเล็ด ไม่จำเป็นเป็นต้องพบเมื่ออายุมากขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ อาทิเช่น กล้ามเนื้อที่อ่อนแอลง กล้ามเนื้อผนังช่องคลอดหย่อนยาน ความเสื่อมของหูรูดกระเพาะปัสสาวะช่องคลอดหรือเยื่อบุท่อปัสสาวะขาดความยืดหยุ่น ซึ่งเกิดได้บ่อยในสตรีวัยหลังหมดประจำเดือน เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเพศจะเพิ่มโอกาสให้เกิดขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม อาการปัสสาวะเล็ดแบบชั่วคราว สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่เกี่ยวกับอายุ
  • วัยทอง เนื่องจากเอสโตรเจนมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้สุขภาพภายในบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ มีสุขภาพที่ดี แต่การเริ่มต้นของภาวะวัยทอง จะส่งผลให้ปริมาณเอสโตรเจนลดลงและค่อยๆส่งผลต่อเนื้อเยื่อบริเวณกระเพาะปัสสาวะให้เสื่อมลงเรื่อยๆ
  • การคลอดบุตร โดยกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน รวมถึงหูรูดท่อปัสสาวะมีโอกาสที่จะอ่อนแอลงได้ เนื่องจากเนื้อเยื่อ และเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบในระหว่างการคลอดบุตร ส่งผลให้เกิดปัสสาวะเล็ด ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังการคลอดบุตร หรืออาจจะใช้ระยะเวลาหลายปีต่อมา
  • การมีแรงดันสะสมในช่องท้องติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อในผนังช่องคลอดเกิดการหย่อนคล้อย กระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะมีการเปลี่ยนมุม จากการออกแรงยกของหนักหรือเล่นกีฬาอย่างหนักเป็นประจำ ซึ่งเป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ปัสสาวะจึงเล็ดออกมา
  • ปัจจัยอื่นเช่นน้ำหนักตัวเยอะ รวมถึงท้องผูกเรื้อรัง ส่งผลทำให้มีแรงดันในช่องท้องเยอะอยู่ตลอดเวลาและเกิดการหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
  • วิธีการคลอดบุตรที่ยากลำบาก จะส่งผลทำให้เนื้อเยื่อในช่องคลอดหย่อนและบาดเจ็บหรือที่เรียกกันว่ากระบังลมหย่อน หลังการคลอดบุตร
  • การส่งกระแสประสาทที่ผิดปกติ ทำให้กระเพาะปัสสาวะถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา และไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้ อาทิเช่นผู้ที่เป็น multiple sclerosis, Parkinson’s disease เป็นต้น

ซึ่งในคนไข้ที่มัปัญหาภาวะปัสสาวะเล็ด ทั้งแบบชั่วคราวและเรื้อรังสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำได้ เนื่องจากวิทยาการสมัยใหม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล

นัดหมายแพทย์และสอบถาม: สอบถามรายละเอียดหรือ นัดหมายแพทย์ บีเอซี คลินิกเวชกรรม สุขุมวิท Line: @bacclinic