ภาวะ ไอ จาม ปัสสาวะเล็ด หรือ ช้ำรั่ว  คือการที่ กลั้นปัสสาวะไว้ไม่อยู่ ทำให้มีปัสสาวะเล็ดออกมาขณะเคลื่อนไหวเช่น ไอ จาม วิ่ง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อบุคลิกภาพ และการเข้าสังคม รวมถึงสุขอนามัย โดยอาการปัสสาวะเล็ดพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีท่อปัสสาวะที่สั้นกว่าผู้ชาย

อาการปัสสาวะเล็ด

  1. มีอาการปัสสาวะเล็ดเมื่อออกแรงหรือทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ไอ จาม วิ่ง กระโดด ยกของหนัก
  2. มีเพศสัมพันธ์ ลงจากรถ ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้บ่อยที่สุด
  3. มีปัสสาวะไหลซึม โดยที่ไม่รู้ตัว
  4. มีอาการปวดปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะวันละหลายๆรอบ

ควรพบแพทย์เมื่อไหร่

ควรปรึกษาแพทย์เมื่อรู้สึกว่าอาการที่เกิดขึ้นส่งผลต่อชีวิตประจำวัน เช่น กระทบต่อการทำงาน การเข้าสังคม การทำกิจกรรม


สาเหตุของปัสสาวะเล็ด

  สาเหตุของปัสสาวะเล็ดมีหลายปัจจัย โดยสาเหตุหลักเกิดจากการที่กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อโดยรอบที่รองรับกระเพาะปัสสาวะ (กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน/pelvic floor muscle) รวมถึงกล้ามเนื้อที่ควบคุมปัสสาวะหรือหูรูดกระเพาะปัสสาวะ อ่อนแอหรือเสื่อมลง

  โดยปกติเมื่อมีปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะขยายออก กล้ามเนื้อบริเวณหูรูดกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะก็จะขับปัสสาวะออก และหลังจากนั้นก็จะปิดลง เพื่อป้องกันการไหลของปัสสาวะ จนกว่าจะถึงเวลาที่ต้องการปัสสาวะอีกครั้ง แต่เมื่อใดก็ตามที่กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวอ่อนแอลง เมื่อมีกิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงดันบริเวณอุ้งเชิงกราน เช่น การไอ จาม ยกของหนัก การหัวเราะ ก็สามารถส่งผลต่อกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ไม่สามารถควบคุมการปิดของกล้ามเนื้อหูรูดที่อ่อนแอลงได้ จึงส่งผลต่อเนื่องให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ด


โดยปัจจัยที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานและหูรูดกระเพาะปัสสาวะอ่อนแอลง อาทิเช่น

  • การคลอดบุตร โดยกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน รวมถึงหูรูดท่อปัสสาวะมีโอกาสที่จะอ่อนแอลงได้ เนื่องจากเนื้อเยื่อ และเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบในระหว่างการคลอดบุตร ส่งผลให้เกิดปัสสาวะเล็ด ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังการคลอดบุตร หรืออาจจะใช้ระยะเวลาหลายปีต่อมา
  • การมีแรงดันสะสมในช่องท้องติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อในผนังช่องคลอดเกิดการหย่อนคล้อย กระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะมีการเปลี่ยนมุม จากการออกแรงยกของหนักหรือเล่นกีฬาอย่างหนักเป็นประจำ ซึ่งเป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ปัสสาวะจึงเล็ดออกมา
  • ปัจจัยอื่นเช่นน้ำหนักตัวเยอะ รวมถึงท้องผูกเรื้อรัง ส่งผลทำให้มีแรงดันในช่องท้องเยอะอยู่ตลอดเวลาและเกิดการหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
  • อายุที่มากขึ้น โดยการเกิดปัสสาวะเล็ด ไม่จำเป็นเป็นต้องพบเมื่ออายุมากขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ อาทิเช่น กล้ามเนื้อที่อ่อนแอลง กล้ามเนื้อผนังช่องคลอดหย่อนยาน ความเสื่อมของหูรูดกระเพาะปัสสาวะช่องคลอดหรือเยื่อบุท่อปัสสาวะขาดความยืดหยุ่น ซึ่งเกิดได้บ่อยในสตรีวัยหลังหมดประจำเดือน เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเพศจะเพิ่มโอกาสให้เกิดขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม อาการปัสสาวะเล็ดแบบชั่วคราว สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่เกี่ยวกับอายุ
  • วิธีการคลอดบุตรที่ยากลำบาก จะส่งผลทำให้เนื้อเยื่อในช่องคลอดหย่อนและบาดเจ็บหรือที่เรียกกันว่ากระบังลมหย่อน หลังการคลอดบุตร
  • การส่งกระแสประสาทที่ผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กระเพาะปัสสาวะถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา และไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้

รักษาอาการปัสสาวะเล็ดได้อย่างไรบ้าง?

  • หากอาการยังอยู่ในระยะเริ่มต้น สามารถใช้วิธีการบริหารช่องคลอดด้วยการขมิบ  ซึ่งควรทำอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ โดยจะเริ่มเห็นผลหลังปฏิบัติใน 3 – 6 เดือน จะสามารถป้องกันภาวะกระบังลมหย่อนและอาการปัสสาวะเล็ดได้

  • การรักษาโดยการใช้ยา เพื่อลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ โดยควรใช้ยา ตามคำแนะนำของแพทย์

  • การใช้เทคโนโลยีรีแพร์ ยกกระชับช่องคลอดแบบไม่ผ่าตัด เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างคอลลาเจนขึ้นมาใหม่ และเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานภายใน โดยจะเหมาะกับการรักษาอาการปัสสาวะเล็ดที่ไม่รุนแรงมาก เช่น มีอาการปัสสาวะเล็ดเฉพาะเวลาเล่นกีฬาหนักๆ ไอ จาม รู้สึกว่ามีลมออกทางช่องคลอดตอนทำกิจกรรมที่ใช้แรงเช่นเล่นกีฬา โดยคนไข้ที่มีอาการควรทำการรักษาแต่เนิ่น เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้จนอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดแทน โดยการรักษาอาการปัสสาวะเล็ด รวมถึงการรีแพร์ช่องคลอดแบบไม่ผ่าตัด ควรจะต้องทำทั้งหมด 3 ครั้ง โดยไม่ต้องพักฟื้น ไม่เจ็บตัว หลังจากทำการรักษาเรียบร้อย สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ มีเพศสัมพันธ์ได้ภายใน 4 ชั่วโมง โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการผ่าตัดมาก อีกทั้งยังปลอดภัย ไม่เสี่ยงติดเชื้อ จึงเป็นทางเลือกใหม่ของสุภาพสตรีที่เริ่มมีปัญหาปัสสาวะเล็ดได้อย่างดีเลยทีเดียว

  • การผ่าตัดรักษาอาการปัสสาวะเล็ด อาทิเช่น การผ่าตัดเปิดหน้าท้องยกมุมของกระเพาะปัสสาวะขึ้น การผ่าตัดดึงรั้งท่อปัสสาวะโดยใช้เข็มแทง การใช้เทปสลิงดึงมุมกระเพาะปัสสาวะขึ้น ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนมุมของท่อทางเดินปัสสาวะให้กลับไปเป็นปกติ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องช่องคลอดหลวม ไม่กระชับ ซึ่งจะแกตต่างจากการรักษาด้วยเครื่องมือรีแพร์แบบไม่ผ่าตัด ซึ่งสามารถรักษาอาการปัสสาวะเล็ดและรีแพร์แก้ปัญหาช่องคลอดหลวมได้ภายในคราวเดียว อีกทั้งยังช่วยให้เพิ่มความสุขในการมีเพศสัมพันธ์ได้ดียิ่งขึ้น จากการที่ปรับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อภายในจึงลดความหย่อนคล้อยภายในช่องคลอด ลดอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงอาการเจ็บท้องน้อย ลดอาการช่องคลอดแห้ง และแก้ปัญหาorgasm ช้าได้อีกด้วย จึงเป็นการคืนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้หญิงอย่างแท้จริง

นัดหมายแพทย์และสอบถาม: สอบถามรายละเอียดหรือ นัดหมายแพทย์ บีเอซี คลินิกเวชกรรม สุขุมวิท Line: @bacclinic